เพื่อนักศึกษา...จะได้ศึกษาค้นคว้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้
วิพากษ์วิจารณ์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ทฤษฎีที่หลากหลาย
โดยมุ่งเน้นที่แนวทางในการใช้ภาวะผู้นำต่างๆ
การใช้เทคนิควิธีการในการจัดการเปลี่ยนแปลงโดยการศึกษามุ่งเน้นการใช้รูปแบบการวิเคราะห์กรณีศึกษา
หัวข้อครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆดังนี้
-ภาวะผู้นำ (leadership)
-รูปแบบของภาวะผู้นำ (Style
of Leadership)
-ภาวะผู้นำกับอำนาจ (Leadership
and power )
-ภาวะผู้นำสำหรับทีม (Leadership Team)
-ภาวะผู้นำแบบแปลงสภาพ(Leadership
style convertible )
-ภาวะผู้นำกับการพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการเปลี่ยนแปลง(Leadership
and the deverlopment of strategies to manage change )
-การวางแผนการเปลี่ยนแปลงระบบงานใหม่(Planning
for the new system)
-เทคนิคต่างๆในการเปลี่ยนแปลงองค์การ(Techniques
in organizational change)
วัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวางแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบงานใหม่
โดยการพัฒนากุลยุทธในการจัดการ
และวิเคราะห์สถานการณ์ในการเลือกใช้ภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆในองค์การได้
เพื่อให้นักศึกษามีขีดสมรรถนะสูงและมีคุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อน
ก่อนที่จะศึกษาหาความรู้จากเว็บไซต์
"https://sites.google.com/site/mbakrabi "เอ็มบีเอกระบี่"
เนื้อหาวิชาเกือบทั้งหมดมีแหล่งที่มาที่ไปอย่างชัดเจนอยู่แล้วแต่อาจจะมีบางเนื้อหาวิชาหรือข้อความบางประโยคบางคำพูด
ที่ไม่สามารถบอกถึงที่มาได้ด้วยเหตุผลประการใดก็ตามผมเองต้องขออภัยและขอโทษกับเจ้าของบทความและเนื้อหาสาระต่างๆเหล่านั้น
มา ณโอกาสนี้ด้วย ผมเองเพื่ยงแต่เป็นผู้จัดหาเรียบเรียงและเผยแพร่เพื่อให้บทความและเนื้อหาสาระต่างๆเป็นที่่น่าสนในน่าอ่านมากยิ่งขึ้นไม่ได้คิดที่จะเอาบทความหรือเนื้อหาสาระของคนอื่นมาเป็นของตนเองแต่ประการใด
ที่ทำไปทั้งหมดเพื่อเป็นวิทยาทานแด่นักศึกษาMBA.และผู้อ่านที่ใฝ่รู้ทุกท่าน
หากนักศึกษาหรือท่านผู้รู้ท่านใดอ่านแล้วมีความคิดเห็นที่ต่างหรือมีอะไรที่จะแนะนำติชม
ก็ขอให้ทุกท่านเข้ามาช่วยเสริมเติมแต่งให้เนื้อหาสาระต่างๆที่ขาดตกบกพร่องหรือผิดพลาดไปนั้นจะได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและจะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษาค้นคว้าสืบต่อไป....
ด้วยความปรารถนาดี
พิสิฐชัย กาญจนามัย
อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
(Transformational Leadership)
ในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่กล่าวกันว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
ทุกๆองค์การต้อง เผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค
ระดับประเทศ ระดับสังคม ระดับองค์การ ระดับกลุ่ม และระดับบุคคล
ทั้งในด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ค่านิยม ข้อมูลข่าวสาร
เทคโนโลยีและอื่นๆ และผลจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลทั้งทางบวกและทางลบ
สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมาเราได้เผชิญกับสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและยังมีผลกระทบต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน หากมองในระดับองค์การทุกองค์การทั้งในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน และในทุกระดับ ทุกกลุ่มขององค์การ
มีความจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ตนเอง
หรืออาจจะต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันของตน
ทั้งในจุดอ่อนจุดแข็งโอกาสและอุปสรรคปัญหาต่างๆขององค์การเพื่อให้เห็นความสำคัญ
และความเร่งด่วนในการที่จะต้องปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงตนเอง และเพื่อให้ตระหนักอย่าง
แท้จริงว่าหากเราไม่เปลี่ยนแปลงตนเอง ขณะที่สภาวะแวดล้อม
และปัจจัยต่างๆรอบตัวเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
หรือมัวแต่หลงตนเองว่าตนยิ่งใหญ่และเชื่อว่าตนจะสามารถอยู่ได้โดย
ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง อาจจะนำเราไปสู่ความหายนะหรือความล้มเหลวหรือการสาบสูญ ล้มละลาย เหมือนสัตว์ยุคโบราณที่เราได้ยินแต่ชื่อและเห็นแต่ซาก เช่น
ไดโนเสาร์หรือองค์การต่างๆที่ต้องปิดตนเองไปจำนวนมากมายหรือต้องกลายไปเป็นของต่างชาติ
สำหรับ การเปลี่ยนแปลงในระดับองค์การในยุคนี้มิใช่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กๆ
น้อยๆ หรือเปลี่ยนแปลงตามแฟชั่นหากแต่พบว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบที่ต้องเปลี่ยนสภาพของตนเอง
เพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เหมือนสิ่งมีชีวิตบางชนิดเช่น
หนอนที่ต้องเปลี่ยนสภาพเป็นผีเสื้อ เหมือนลูกอ๊อด เปลี่ยนสภาพไปเป็นกบ
อย่างไรก็ตามวิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพนี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือแบบเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
อาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และ ขึ้นอยู่กับอาการขององค์การนั้นว่ารุนแรงหรือ
อาการหนักมากหรือน้อยเพียงใด
สำหรับในระดับองค์การ ในยุคนี้วงการวิชาการต่างมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรหรือปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลต่อองค์การ ตัวแปรหรือปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานหรือของกลุ่มทำงาน รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของพนักงาน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ได้รับการยอมรับว่ามีอิทธิพลมากคือ ภาวะผู้นำ ทั้งภาวะผู้นำของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาในทุก ๆ ระดับ และทั้งภาวะผู้นำของพนักงานทุกๆคนในองค์การด้วย ภาวะผู้นำในที่นี้จะหมายถึงพฤติกรรมหรือกระบวนการที่บุคคลหนึ่งมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น หรือกลุ่มในการทำงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
ในทศวรรษที่ผ่านมาการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้ที่มีประสิทธิภาพมีจำนวนมาก แต่มีแนวคิดทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและกล่าวถึงกันมากคือ “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง “ (Transformational Leadership) ซึ่งมีงานวิจัยนับหมื่นๆเรื่องที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ในทั่วโลกและยืนยันว่า ทฤษฎีสามารถนำไปประยุกต์ได้ใช้ได้ และสามารถพัฒนาภาวะผู้นำนี้ได้ในทุกองค์การ และในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การที่อยู่ในอเมริกา ยุโรป หรือในเอเชีย สำหรับในเอเชีย มีการศึกษาวิจัยในองค์การธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และในประเทศไทยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การ ผลการ ปฏิบัติงาน ทั้งของกลุ่ม และของผู้ใต้บังคับบัญชา เจตคติต่อการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมความเป็นพลเมืองดี (Organizational Citizenship Behavior : OCB) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในองค์การ และตัวแปรหรือปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ทฤษฎี ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership Theory)
สำหรับในระดับองค์การ ในยุคนี้วงการวิชาการต่างมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรหรือปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลต่อองค์การ ตัวแปรหรือปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานหรือของกลุ่มทำงาน รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของพนักงาน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ได้รับการยอมรับว่ามีอิทธิพลมากคือ ภาวะผู้นำ ทั้งภาวะผู้นำของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาในทุก ๆ ระดับ และทั้งภาวะผู้นำของพนักงานทุกๆคนในองค์การด้วย ภาวะผู้นำในที่นี้จะหมายถึงพฤติกรรมหรือกระบวนการที่บุคคลหนึ่งมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น หรือกลุ่มในการทำงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
ในทศวรรษที่ผ่านมาการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้ที่มีประสิทธิภาพมีจำนวนมาก แต่มีแนวคิดทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและกล่าวถึงกันมากคือ “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง “ (Transformational Leadership) ซึ่งมีงานวิจัยนับหมื่นๆเรื่องที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ในทั่วโลกและยืนยันว่า ทฤษฎีสามารถนำไปประยุกต์ได้ใช้ได้ และสามารถพัฒนาภาวะผู้นำนี้ได้ในทุกองค์การ และในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การที่อยู่ในอเมริกา ยุโรป หรือในเอเชีย สำหรับในเอเชีย มีการศึกษาวิจัยในองค์การธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และในประเทศไทยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การ ผลการ ปฏิบัติงาน ทั้งของกลุ่ม และของผู้ใต้บังคับบัญชา เจตคติต่อการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมความเป็นพลเมืองดี (Organizational Citizenship Behavior : OCB) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในองค์การ และตัวแปรหรือปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ทฤษฎี ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership Theory)
อ้างอิง : ดร.รัตติกรณ์ จงวิศาล.2551.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership Theory)……..สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยหอการค้า.[Online].Available.URL
: http://202.28.8.55/HR/index.php?option=com_content&task=view&id=51&Itemid=15
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรายงาน
ภาวะผู้นำกับทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงผู้รายงานได้ศึกษาค้นคว้า ตำรา และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามหัวข้อต่อไปนี้
1. ความหมายของภาวะผู้นำ
2. คุณลักษณะของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. ทฤษฎีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง
4. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ความหมายของภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ
ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการนำ (The
American Heritage Dictionary, 1985 : 719)
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ
และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว
เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ
หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
ความหมายของภาวะผู้นำ ได้มีผู้ให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้หลากหลายและแตกต่างกัน
ซึ่งยุคล์ (Yukl, 1989 : 3)
ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ความหมายของภาวะผู้นำมีหลากหลายและแตกต่างกันก็เนื่องจากขอบเขตเนื้อหาและความสนใจในภาวะผู้นำ
โรเบิร์ต แทนเนนบั้ม (Robert Tenenbaum) และคณะอ้างใน ทองใบ สุดชารี. (2544 : 3-4) ภาวะผู้นำ
หมายถึง
การใช้อิทธิพลเหนือบุคคลอื่นในสถานการหนึ่งๆโดยผ่านกระบวนการติดต่อสื่อสารในวันที่จะทำให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
กวี วงศ์พุฒ (2535: 14-15)
ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำไว้ 5 ประการ คือ
(1) ผู้นำ หมายถึง
ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่มเปรียบเสมือนแกนของกลุ่มเป็นผู้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากกว่าทุกคนในกลุ่ม
มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจของกลุ่มสูง
(2) ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือสู่จุดหมายที่วางไว้
แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำทั้งนี้รวมถึงผู้นำที่นำกลุ่มออกนอกลู่นอกทางด้วย
(3)
ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่คัดเลือกหรือยกให้เขาเป็นผู้นำของกลุ่มซึ่งเป็นไปโดยอาศัยลักษณะทางสังคมมิติของบุคคลเป็นฐาน
และสามารถแสดงพฤติกรรมของผู้นำได้
(4)
ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างคือสามารถสอดแทรกอิทธิพลบางประการอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด
(5)
ผู้นำ หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งสามารถนำกลุ่มไปในทางที่ต้องการ
เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมและเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการแสดงบทบาทหรือพฤติกรรมความเป็นผู้นำ
รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิบายถึง “ภาวะผู้นำ” ว่า “เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารจะให้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของ
ผู้อื่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุจุดหมายขององค์การ
จากนิยามดังกล่าว
มีคำถามว่าผู้บริหารจะทำให้ตนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนอื่นได้อย่างไร คำตอบก็คือ
อำนาจ (power) (Bartol & others 1998) อำนาจนี้มีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน
แต่โดยทั่วไปมีมาจาก 6 แหล่งที่สำคัญดังนี้ คือ (French
& Raven 1959 อ้างใน Bartol & others)
ปีเตอร์ เอฟ
ดรักเกอร์ (Peter F. Drucker) กล่าวว่า
ในสหัสวรรษใหม่เป็นห้วงเวลาที่หลักการบริหารธุรกิจแบบเดิม
ๆ ที่เรายึดถือกันมากำลังถูกท้าทาย
อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีความเจริญอย่างรวดเร็วและคนที่เข้าใจความหมายของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้นจึงจะอยู่รอด
และเจริญภายใต้กฎเกณฑ์ใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราต้องทราบว่าข้อสมมติฐานเก่าข้อใดที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกต่อไป
ในศตวรรษที่ 21 นี้
ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยสร้างความเข้าใจว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่สามารถควบคุมและจัดการได้
โดยเฉพาะคนที่อยู่ในองค์การที่มีทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่
การเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Evolutionary
Leadership) ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง คือ การผสมผสานระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม การส่งเสริมความรวดเร็วและความยืดหยุ่นเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ ที่จะเกิดในระบบเศรษฐกิจแบบใหม่
การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องกล้าหาญที่จะทิ้งรูปแบบการค้าเก่า
ๆ ท้าทายความเชื่อและสมมติฐานเดิม
ๆ ยกเลิกระบบที่ทำกันมานานเป็นการเรียนรู้จากระบบเก่าเพื่อนำไปสู่แนวทางใหม่
เพื่อความอยู่รอดในอนาคต สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงหาใช่เป็นการเชื่อมต่อสื่อสารทางเทคโนโลยี
แต่เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคนกับคน และการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงยังหมายถึงการค้นหาแนวทางใหม่ในการเป็นผู้นำ
กล่าวคือ แนวทางต่าง ๆ ในการกระตุ้นพนักงานที่เราแทบไม่ได้พบกันทุกวัน
แนวทางใหม่ ๆ การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ การสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่
ๆ และแนวทางใหม่ ๆ ที่จะคำนึงว่าบริษัทคืออะไร หรือควรให้บริษัทมีลักษณะอย่างไร
เดฟ ทอลไมส์ นักการตลาดด้านอีเมล์ และเคยดำรงตำแหน่ง
ซีอีโอ ของ Yesmail.com
มาก่อน กล่าวว่า ความสำเร็จของบริษัทมาจากความสามารถของพนักงานทุกคนในบริษัทรวมกัน
ทุกบริษัทควรมีสภาพที่เป็นกันเอง เพื่อให้พนักงานทุกคนได้แสดงความสามารถให้เห็น
2. คุณลักษณะของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ในอดีตผู้นำธุรกิจปฏิบัติตนเสมือนเป็นผู้บังคับบัญชาทหารหรือกองทัพที่ออกคำสั่งแล้วผู้ใต้บังคับบัญชาต้องทำตามคำสั่ง
แต่คุณลักษณะของผู้บริหารหรือผู้นำในยุคปัจจุบัน จะแตกต่างจากยุคก่อน คือ
1.ความซื่อสัตย์ เป็นคุณลักษณะอันดับแรกที่เด่นที่สุด ความจริงใจ ตรงไปตรงมาเพื่อสร้างความไว้วางใจ ต้องยอมรับว่าไม่รู้
เมื่อไม่รู้เพราะความเป็นจริงแล้วไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง
ถ้าผิดต้องขอโทษ แล้วทุกคนจะลืมพร้อมกับการสร้างความมั่นใจ
และยึดมั่นในความซื่อสัตย์ในหมู่คณะอีกด้วย
2.ความฉับไว การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงควรแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนกับบรรยากาศการทำงานที่สร้างขึ้นมา ต้องเป็นผู้ที่ยืดหยุ่นพร้อมรับฟังพนักงานทั้งหลาย
3.การเตรียมพร้อม แม้ว่าการเป็นผู้นำแห่งยุคใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างบรรยากาศการทำงานขึ้นมาใหม่
แต่ยังไม่เพียงพอเพราะความสำเร็จขั้นต่อไปคือ การเตรียมการให้ทุกคนพร้อมอยู่ตลอดเวลา
4.ความตั้งใจเรียนรู้ใหม่ สิ่งที่เรารู้มิใช่ที่สุดอีกต่อไป
เรายังต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ยังต้องการความรู้ข้อมูลใหม่ ๆ
เพื่อไปเข้าถึงจุดสุดยอดแห่งการเป็นผู้นำยุคการเปลี่ยนแปลง
โดยยอมละทิ้งเครื่องมือวิธีเก่า ๆ ในอดีตออกไปเสีย
5.นิสัยชอบผจญภัย การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสามารถที่จะอยู่รอดในโลกของความเร่งรีบฉับไวและสนุกไปกับมัน
ต้องตัดสินใจรวดเร็ว ฉับไว
จากข้อมูลที่มีอยู่ โดยพนักงานทั้งหลายต้องมีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้น
ๆ ด้วย
6.วิสัยทัศน์ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ทั่วไปในประวัติศาสตร์ต้องมองให้เห็นเหตุการณ์ในอนาคต และยังสามารถแบ่งปันให้กับเพื่อนร่วมงานได้
7.การเห็นประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นที่ตั้ง การเป็นผู้นำในยุคก้าวหน้านี้พร้อมจะแบ่งปันแรงปรารถนาอันแรงกล้าที่จะทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น
3. ทฤษฎีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Transformational
Leadership Theory)
จากสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
มีการแข่งขันเพื่อชิงความเป็นเลิศ ดังนั้น
วิธีที่จะทำให้ผู้บริหารประสบความสำเร็จสูงสุด คือ ผู้บริหารต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง
เบิร์นส์ (Burns) เสนอความเห็นว่า การแสดงความเป็นผู้นำยังเป็นปัญหาอยู่จนทุกวันนี้
เพราะบุคคลไม่มีความรู้เพียงพอในเรื่องกระบวนการของความเป็นผู้นำ เบิร์นส์
อธิบายความเข้าใจในธรรมชาติของความเป็นผู้นำว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างความเป็นผู้นำกับอำนาจที่มีส่วนสัมพันธ์กับผู้นำและผู้ตาม
อำนาจจะเกิดขึ้นเมื่อผู้นำจัดการบริหารทรัพยากร
โดยเข้าไปมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ตามเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตนหวังไว้
ความเป็นผู้นำจะเกิดขึ้นเมื่อการบริหารจัดการทำให้เกิดแรงจูงใจ
และนำมาซึ่งความพึงพอใจต่อผู้ตาม ความเป็นผู้นำถือว่าเป็นรูปแบบพิเศษของการใช้อำนาจ (Special
form of power)
เบิร์นส์ สรุปลักษณะผู้นำเป็น 3 แบบ ได้แก่
1. ผู้นำการแลกเปลี่ยน
(Transactional Leadership) ผู้นำที่ติดต่อกับผู้ตามโดยการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
และสิ่งแลกเปลี่ยนนั้นต่อมากลายเป็นประโยชน์ร่วมกันลักษณะนี้พบได้ในองค์กรทั่วไป
เช่น ทำงานดีก็ได้เลื่อนขั้น ทำงานก็จะได้ค่าจ้างแรงงาน
และในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรมีข้อแลกเปลี่ยนกับชุมชน เช่น
ถ้าตนได้รับการเลือกตั้งจะสร้างถนนให้ เป็นต้น
2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
(Transformational Leadership) ผู้นำที่ตระหนักถึงความต้องการของผู้ตาม
พยายามให้ผู้ตามได้รับการตอบสนองสูงกว่าความต้องการของผู้ตาม เน้นการพัฒนาผู้ตาม
กระตุ้นและยกย่องซึ่งกันและกันจนเปลี่ยนผู้ตามเป็นผู้นำและมีการเปลี่ยนต่อๆกันไป
เรียกว่า Domino effect ต่อไปผู้นำการเปลี่ยนแปลงก็จะเปลี่ยนเป็นผู้นำจริยธรรม
ตัวอย่างผู้นำลักษณะนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชน
3. ผู้นำจริยธรรม
(Moral Leadership)ผู้นำที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ตาม
ซึ่งผู้นำจะมีความสัมพันธ์กับผู้ตามในด้านความต้องการ (Needs) ความปรารถนา (Aspirations) ค่านิยม (Values) และควรยึดจริยธรรมสูงสุด คือ
ความเป็นธรรมและความยุติธรรมในสังคม
ผู้นำลักษณะนี้มุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองความต้องการ
และความจำเป็นอย่างแท้จริงของผู้ตาม ตัวอย่างผู้นำจริยธรรมที่สำคัญ คือ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ท่านทรงเป็นนักวางแผนและมองการณ์ไกล
นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง เช่น โครงการอีสานเขียว โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง
โครงการแก้มลิง เป็นต้น
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาของกมลวรรณ ชัยวานิช (2536) ในเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน
ผลการศึกษาพบว่า ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถทำนายประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในโรงเรียนที่ผู้บริหารเป็นครูใหญ่
และได้รับอนุญาตได้ 74.33%
โดยทำนายประสิทธิผลได้มากกว่าการดำรงตำแหน่งบริหารแบบอื่น
ๆ และสามารถทำนายประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในโรงเรียนที่ครูมีความสามัคคีสูงมากกว่าที่มีความสามัคคีต่ำซึ่งสอดคล้องกับประเสริฐ
สมพงษ์ธรรม (2538) ที่ศึกษาเรื่อง
การวิเคราะห์ภาวะผู้นำของศึกษาธิการจังหวัดที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลขององค์การสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถช่วยเสริมประสิทธิผลองค์การเพิ่มจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
และตัวทำนายประสิทธิผลองค์การโดยรวมที่ดี ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
และภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนด้านการให้รางวัลอย่างเหมาะสม มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเป็นบวก
บัณฑิต แท่นพิทักษ์ (2540)
ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ
อำนาจความศรัทธาและความพึงพอใจในงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารและความพึงพอใจในงานของครู
มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและภาวะผู้นำของผู้บริหาร
การใช้อำนาจของผู้บริหาร ความศรัทธาของครูและชีวสังคมของครู
สามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจ ในงานของครูได้ร้อยละ 37.65
เช่นเดียวกับผลการศึกษาของอัญชลี มากบุญส่ง (2540) ที่ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้างานกลุ่มพยาบาลกับประสิทธิผลของกลุ่มงานพยาบาลตามการรับรู้ของหัวหน้าของหอผู้ป่วย
โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่า
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้างานการพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของกลุ่มงานพยาบาลทุกด้าน
รวมทั้งผลการศึกษาของ โครงการเสือดำ
(2545 อ้างถึงใน รัตติกรณ์ จงวิศาล ม.ป.ป. : 8) ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ
ภาวะผู้นำกับผลการปฏิบัติงานของหัวหน้างานระดับต้น : ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทไทย – เอเชีย พี อี
ไพพ์ จำกัด ซึ่งผลการศึกษาพบว่า
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
เมื่อใช้ผลการปฏิบัติงานหัวของหัวหน้างานระดับต้น พบว่า ตัวแปรอิสระ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถพยากรณ์ด้วยตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นอกจากนี้ผลการศึกษาของสุภาพร รอดถนอม (2542 อ้างถึงในรัตติกรณ์ จงวิศาล, ม.ป.ป. : 6 )
ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลกับประสิทธิผลขององค์การกับการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1)
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับประสิทธิผลองค์การ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(r=720) 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง
กับประสิทธิผลองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(r=691) 3) กลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การกระตุ้นปัญญา การกระจายอำนาจและการใช้อำนาจในการตัดสินใจ และการสร้างวิสัยทัศน์
การถ่ายทอดวิสัยทัศน์และการปลูกฝังค่านิยม ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 56.5
ที่มาของเนื้อหา https://sites.google.com/site/mbakrabi/phawa-phuna-laea-kar-brihar-kar-peliynpaelng