การปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่น
การที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนอื่นได้นั้น
เราควรจะได้เรียนรู้ถึงธรรมชาติ ความต้องการของคนโดยทั่วไปเสียก่อน
ถ้าหากเราต้องการจะทำให้เขาเกิดความพึงพอใจก็ควรจะทำในสิ่งที่บุคคลอื่นต้องการ
การที่เราจะทำอะไรหรือให้อะไรแก่คนอื่นในสิ่งที่เขาไม่ต้องการก็จะไม่ช่วยสร้างให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นได้
เช่น นำอาหารอร่อย ๆ มาให้กับคนที่กำลังอิ่มอยู่แล้ว
เช่นนี้ย่อมไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
เราควรจะต้องพิจารณาดูเสียก่อนว่าเขามีความต้องการในสิ่งใด
ถ้าให้ถูกต้องตามความต้องการของเขา
เขาจึงจะเกิดความพึงพอใจกฎเกณฑ์ข้อนี้เป็นเงื่อนไขที่สำคัญมากในการสร้างให้เกิดมนุษยสัมพันธ์
เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าการสร้างความสัมพันธ์นั้นเป็นการง่ายหรือยาก
แต่ทุกคนสามารถ “สร้างความสัมพันธ์” ได้ถ้าปรารถนาจะสร้างเคล็ดลับอยู่ที่ว่าต้องรู้เขารู้เราประเพณี
วัฒนธรรม ปรับกายใจของเราโดยไม่ทิฐิฝึกเป็นนิสัย ควรสร้างความสัมพันธ์กับทุกชนชั้น
ในลักษณะที่ดีที่เรียกกันว่า “มนุษยสัมพันธ์” โดยเฉพาะมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเกียวข้องกับการบริหารงานบุคคลและพัฒนาองค์กร
มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการบริหารงาน
มนุษยสัมพันธ์เริ่มต้นที่ตัวบุคคลแต่ละคน ผู้ที่จะเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่ได้ฝึกหัดปฏิบัติจนชำนาญ
คุ้นเคย เป็นปกตินิสัยประกอบกับพื้นฐานพัฒนาการของชีวิต
และบุคลิกภาพเป็นปัจจัยสนับสนุนส่งเสริม เพียงแต่สัมพันธ์ได้ครั้งหนึ่งแล้ว
มนุษยสัมพันธ์จะเกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างไร
เป็นคำถามที่น่าสนใจ ชวนติดตามหาคำตอบ ซึ่งก็มีคำตอบให้ทุก ๆ ท่านนำมาเก็บไว้ในจิตใจแล้วว่า
ประเด็นแรกต้องมีความเข้าใจตนเอง
ประเด็นที่สองต้องมีความเข้าใจในผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้มาติดต่องาน ผู้ที่ทำงานร่วมกันทุกระดับ
ประเด็นที่สามต้องมีความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมทั้งของเราและของเขา
ประเด็นที่สี่ต้องมีความเข้าใจวิธีการปรับตัวเราให้เข้ากับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ห้า ต้องมีวิธีทำให้ผู้อื่นภูมิใจ มั่นใจในตนเอง
คาร์เนกี้ (Carnegie) ได้กล่าวไว้ว่า “ให้สิ่งที่เขาต้องการก่อน แล้วท่านจะได้สิ่งที่ท่านต้องการ” กล่าวสั้น ๆ ก็คือว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” นั่นเอง
เป็นคำถามที่น่าสนใจ ชวนติดตามหาคำตอบ ซึ่งก็มีคำตอบให้ทุก ๆ ท่านนำมาเก็บไว้ในจิตใจแล้วว่า
ประเด็นแรกต้องมีความเข้าใจตนเอง
ประเด็นที่สองต้องมีความเข้าใจในผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้มาติดต่องาน ผู้ที่ทำงานร่วมกันทุกระดับ
ประเด็นที่สามต้องมีความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมทั้งของเราและของเขา
ประเด็นที่สี่ต้องมีความเข้าใจวิธีการปรับตัวเราให้เข้ากับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ห้า ต้องมีวิธีทำให้ผู้อื่นภูมิใจ มั่นใจในตนเอง
คาร์เนกี้ (Carnegie) ได้กล่าวไว้ว่า “ให้สิ่งที่เขาต้องการก่อน แล้วท่านจะได้สิ่งที่ท่านต้องการ” กล่าวสั้น ๆ ก็คือว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” นั่นเอง
ให้ท่านท่านจักให้
นบท่านท่านจักปอง รักท่านท่านควรครอง สามสิ่งนี้เว้นไว้ |
ตอบสนอง
นอบไหว้ ความรัก เรามา แต่ผู้ทรชน |
นั่นคือ รักเขา เขาก็รักเรา ไหว้เขา เขาก็ไหว้เรา
หลักของคาร์เนกี้ (Carnegie) ดังกล่าวข้างต้นเป็นหลักมนุษยสัมพันธ์ซึ่งต้องพิจารณากันต่อไปว่า คนเราต้องการอะไร หรือ ดูว่าความต้องการของคนมีอะไรบ้าง เพื่อเราจะให้ได้ถูกต้อง
ดร.จอนห์ดิวอี้ นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า “สิ่งกระตุ้นเตือนอย่างรุนแรงที่สุดแห่งธรรมชาติของมนุษย์ก็คือความปรารถนาที่จะเป็นคนสำคัญ”
การยกย่องบุคคลให้เขามีความรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปประกาศให้คนอื่น ๆทั่วไปรู้ก็ได้ แต่ใช้วิธีการแสดงออก เช่น การทักทายต่าง ๆ ด้วยคำพูด น้ำเสียง แสดงว่าเขามีความสำคัญ ต่อมาก็กลายเป็นวัฒนธรรม เช่น “ขอบพระคุณค่า” “ยินดีด้วยนะ” “ขอประทานโทษค่ะ” “ครับผม” “ท่าน” หรือการยิ้มแย้มต้อนรับ ตลอดจนการแสดงคารวะ เช่น โค้งหรือก้มศีรษะ การยกย่องกัน ให้เกียรติกัน ผู้ที่ได้รับการยกย่องจะรู้สึกมีความภูมิใจ และจะให้ความร่วมมือในกิจการงานต่าง ๆ ด้วยดีเสมอ
มนุษยสัมพันธ์มีหลักการใหญ่อยู่ที่การครองใจคน การทำให้คนเป็นมิตร ถือว่าเป็นศิลปะที่ลึกซึ้งสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม การเข้าถึงจิตใจคนนั้นไม่มีวิถีทางใดที่ทำได้ดีกว่าอาศัยหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา การทำงานถ้าขาดการครองใจคนเสียแล้ว กิจการนั้นก็ขาดความเจริญงอกงาม มนุษยสัมพันธ์จึงอยู่ที่การครองใจ การชนะใจคนเป็นส่วนใหญ่ การเข้าถึงจิตใจคน ทำอะไรถูกใจ และถึงใจคนจะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ปฏิบัติอย่างไม่มีสิ่งใดเทียบเท่า มนุษยสัมพันธ์จึงมีลักษณะเป็นกิริยาที่กระทำต่อกันของบุคคลแต่ละบุคคล และทุกคนที่ร่วมกันปฏิบัติงานอยู่ในแต่ละองค์การ
หลักของคาร์เนกี้ (Carnegie) ดังกล่าวข้างต้นเป็นหลักมนุษยสัมพันธ์ซึ่งต้องพิจารณากันต่อไปว่า คนเราต้องการอะไร หรือ ดูว่าความต้องการของคนมีอะไรบ้าง เพื่อเราจะให้ได้ถูกต้อง
ดร.จอนห์ดิวอี้ นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า “สิ่งกระตุ้นเตือนอย่างรุนแรงที่สุดแห่งธรรมชาติของมนุษย์ก็คือความปรารถนาที่จะเป็นคนสำคัญ”
การยกย่องบุคคลให้เขามีความรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปประกาศให้คนอื่น ๆทั่วไปรู้ก็ได้ แต่ใช้วิธีการแสดงออก เช่น การทักทายต่าง ๆ ด้วยคำพูด น้ำเสียง แสดงว่าเขามีความสำคัญ ต่อมาก็กลายเป็นวัฒนธรรม เช่น “ขอบพระคุณค่า” “ยินดีด้วยนะ” “ขอประทานโทษค่ะ” “ครับผม” “ท่าน” หรือการยิ้มแย้มต้อนรับ ตลอดจนการแสดงคารวะ เช่น โค้งหรือก้มศีรษะ การยกย่องกัน ให้เกียรติกัน ผู้ที่ได้รับการยกย่องจะรู้สึกมีความภูมิใจ และจะให้ความร่วมมือในกิจการงานต่าง ๆ ด้วยดีเสมอ
มนุษยสัมพันธ์มีหลักการใหญ่อยู่ที่การครองใจคน การทำให้คนเป็นมิตร ถือว่าเป็นศิลปะที่ลึกซึ้งสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม การเข้าถึงจิตใจคนนั้นไม่มีวิถีทางใดที่ทำได้ดีกว่าอาศัยหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา การทำงานถ้าขาดการครองใจคนเสียแล้ว กิจการนั้นก็ขาดความเจริญงอกงาม มนุษยสัมพันธ์จึงอยู่ที่การครองใจ การชนะใจคนเป็นส่วนใหญ่ การเข้าถึงจิตใจคน ทำอะไรถูกใจ และถึงใจคนจะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ปฏิบัติอย่างไม่มีสิ่งใดเทียบเท่า มนุษยสัมพันธ์จึงมีลักษณะเป็นกิริยาที่กระทำต่อกันของบุคคลแต่ละบุคคล และทุกคนที่ร่วมกันปฏิบัติงานอยู่ในแต่ละองค์การ
ดร.แอ็ดเลอร์ กล่าวว่า “บุคคลใดที่ละเว้นการเอาใจใส่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันไม่เพียงแต่เขาจะดำรงชีวิตโดยปราศจากความราบรื่น
หากเขายังเป็นมนุษย์ที่มีอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อผู้อื่นด้วย
มนุษย์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้อยู่ห่างไกลจากความก้าวหน้าและความรุ่งเรืองในประการทั้งปวง”
เราควรให้ความเอาใจใส่กับทุกคนที่เราจะคบ พยายามทักทายพูดคุยกับทุก
ๆ คนเท่าที่เราสามารถจะกระทำได้
และไม่ว่าเขาจะเป็นบุคคลที่มีฐานะสูงหรือต่ำกว่าเรา
พยายามรู้ข้อมูลในทางที่ดีของเขาและนำมาสรรเสริญ ชมเชยเขาตามโอกาสอันควร
การยิ้มแสดงถึงความสุข เป็นการแสดงไมตรีต่อและก่อให้เกิดความพอใจแก่ผู้พบเห็น จงพยายามฝึกที่จะให้เกิดจากจิตใจที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นการยิ้มแต่กายใจไม่ยิ้ม เพราะการยิ้มทำให้คนที่พบเห็นเป็นสุขเขาก็จะให้สิ่งที่เป็นสุขแก่เราบ้าง ช่วยเสริมสร้างมิตรภาพอย่างมาก
ศ.วิลเลียมเจมส ์กล่าวว่า หลักสำคัญที่สุดแห่งธรรมชาติมนุษย์ก็คือ ความกระหายที่จะได้รับการยกย่อง นั่นก็คือ “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่ท่านต้องการจะให้ผู้อื่นปฏิบิต่อท่าน จงทำเช่นนี้ ตลอดเวลาและทำทุกแห่งจนติดเป็นนิสัย”
การบริหารงานเป็นการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน หรือองค์การ ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน ผู้บริหารควรทราบเกี่ยวกับศิลปะของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ดังนี้ คือ
1) การปรับปรุงตัวเอง การที่จะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้ ผู้บริหารควรจะปรับปรุงตัวเองให้เป็นที่น่านิยมยกย่องของผู้อื่น จึงจะทำให้ผู้อื่นอยากมาเข้าใกล้หรือติดต่อสัมพันธ์ด้วยการปรับปรุงตนเองนั้นต้องปรับปรุงทุกด้าน เช่น
การยิ้มแสดงถึงความสุข เป็นการแสดงไมตรีต่อและก่อให้เกิดความพอใจแก่ผู้พบเห็น จงพยายามฝึกที่จะให้เกิดจากจิตใจที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นการยิ้มแต่กายใจไม่ยิ้ม เพราะการยิ้มทำให้คนที่พบเห็นเป็นสุขเขาก็จะให้สิ่งที่เป็นสุขแก่เราบ้าง ช่วยเสริมสร้างมิตรภาพอย่างมาก
ศ.วิลเลียมเจมส ์กล่าวว่า หลักสำคัญที่สุดแห่งธรรมชาติมนุษย์ก็คือ ความกระหายที่จะได้รับการยกย่อง นั่นก็คือ “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่ท่านต้องการจะให้ผู้อื่นปฏิบิต่อท่าน จงทำเช่นนี้ ตลอดเวลาและทำทุกแห่งจนติดเป็นนิสัย”
การบริหารงานเป็นการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน หรือองค์การ ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน ผู้บริหารควรทราบเกี่ยวกับศิลปะของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ดังนี้ คือ
1) การปรับปรุงตัวเอง การที่จะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้ ผู้บริหารควรจะปรับปรุงตัวเองให้เป็นที่น่านิยมยกย่องของผู้อื่น จึงจะทำให้ผู้อื่นอยากมาเข้าใกล้หรือติดต่อสัมพันธ์ด้วยการปรับปรุงตนเองนั้นต้องปรับปรุงทุกด้าน เช่น
- การปรับปรุงด้านร่างกาย (Physical Adaptation) รู้จักระวังรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
รวมทั้งการแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ จะเป็นการเสริมบุคลิกภาพให้น่าสนใจ
เกิดความประทับใจทางกายภาพ
- การปรับปรุงทางด้านอารมณ์ (Enotional adaptation) ต้องพยายามปรับปรุงตนเองอย่าเป็นคนที่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรวดเร็ว ควรจะมีอารมณ์หนักแน่น ผู้บริหารที่มีคุณสมบัต ิเช่นนี้จะทำให้เป็นที่สนใจแก่คนทั่วไป
- การปรับปรุงทางด้านสติปัญญา (Indeational Adaptation) ผู้บริหารควรเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความคิดของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
- การปรับปรุงทางด้านอุดมคติ (Indeational Adaptation) การเปลี่ยนแปลงอุดมคติไปตามความจำเป็น เพื่อปรับปรุงให้เข้ากับเรื่องนั้น
2) การรู้จักจิตใจของผู้อื่น การรู้จักจิตใจของผู้อื่นและความต้องการของคนอื่นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทุกคนชอบให้คล้อยตาม นอกจากนั้นทุกคนยังอยากให้คนอื่นสนใจ ผู้บริหารจึงควรให้ความสนใจแก่คนทุกคน เพื่อเป็นการให้กำลังใจ
3) การรู้จักคน เหตุที่ต้องรู้จักคนไว้ เพราะบุคคลมีหลายจำพวก แล้วแต่จะแบ่ง เช่น ประเภทก้าวร้าวชอบแสดงออก (Extravert) กับเก็บตัวไม่กล้าแสดงออก (Introvert) บางคนโมโหฉุนเฉียวง่าย บางคนขี้อายชอบเก็บตัว บางคนชอบงานสังคม บางคนขี้อิจฉาริษยา บางคนชอบเรียกร้องความปราน ผู้บริหารที่ดีต้องพยายามใช้ลักษณะต่าง ๆ ของเขาให้เป็นประโยชน์ เช่น คนชอบงานสังคมก็อาจให้ทำงานทางด้านประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ความสุขใจ ความสบายใจ และความพอใจของคนในการทำงานจะมีหรือไม่กับบทท่าที และความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชา ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายรู้ใจกันและกัน รู้ความต้องการของกันและกัน และเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างถูกต้องแล้ว ความสุขใจ ความสบายใจ และความพอใจซึ่งเป็นบรรยากาศที่ทุกคนปรารถนา ในการทำงานร่วมกัน จึงจะเกิดขึ้น ดังนั้นเพื่อมนุษยสัมพันธ์อันดีสำหรับหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาควรปฏิบัติตนดังนี้
- การปรับปรุงทางด้านอารมณ์ (Enotional adaptation) ต้องพยายามปรับปรุงตนเองอย่าเป็นคนที่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรวดเร็ว ควรจะมีอารมณ์หนักแน่น ผู้บริหารที่มีคุณสมบัต ิเช่นนี้จะทำให้เป็นที่สนใจแก่คนทั่วไป
- การปรับปรุงทางด้านสติปัญญา (Indeational Adaptation) ผู้บริหารควรเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความคิดของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
- การปรับปรุงทางด้านอุดมคติ (Indeational Adaptation) การเปลี่ยนแปลงอุดมคติไปตามความจำเป็น เพื่อปรับปรุงให้เข้ากับเรื่องนั้น
2) การรู้จักจิตใจของผู้อื่น การรู้จักจิตใจของผู้อื่นและความต้องการของคนอื่นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทุกคนชอบให้คล้อยตาม นอกจากนั้นทุกคนยังอยากให้คนอื่นสนใจ ผู้บริหารจึงควรให้ความสนใจแก่คนทุกคน เพื่อเป็นการให้กำลังใจ
3) การรู้จักคน เหตุที่ต้องรู้จักคนไว้ เพราะบุคคลมีหลายจำพวก แล้วแต่จะแบ่ง เช่น ประเภทก้าวร้าวชอบแสดงออก (Extravert) กับเก็บตัวไม่กล้าแสดงออก (Introvert) บางคนโมโหฉุนเฉียวง่าย บางคนขี้อายชอบเก็บตัว บางคนชอบงานสังคม บางคนขี้อิจฉาริษยา บางคนชอบเรียกร้องความปราน ผู้บริหารที่ดีต้องพยายามใช้ลักษณะต่าง ๆ ของเขาให้เป็นประโยชน์ เช่น คนชอบงานสังคมก็อาจให้ทำงานทางด้านประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ความสุขใจ ความสบายใจ และความพอใจของคนในการทำงานจะมีหรือไม่กับบทท่าที และความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชา ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายรู้ใจกันและกัน รู้ความต้องการของกันและกัน และเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างถูกต้องแล้ว ความสุขใจ ความสบายใจ และความพอใจซึ่งเป็นบรรยากาศที่ทุกคนปรารถนา ในการทำงานร่วมกัน จึงจะเกิดขึ้น ดังนั้นเพื่อมนุษยสัมพันธ์อันดีสำหรับหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาควรปฏิบัติตนดังนี้
1. ปฏิบัติงานตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของหน่วยงานนั้น
อย่าทำอะไรตามใจตนเองโดยไม่มีหลักการ แบบงานส่วนตัว
2. ไม่เป็นผู้วางอำนาจ หรือถืออำนาจว่าตนเป็นเจ้านายมีอำนาจในหมู่ ลูกน้องจะทำอะไรก็ได้ มักใช้อำนาจเกิดขอบเขตที่ตนมีอยู่
3. เป็นผู้ที่สนใจและเอาใจใส่ในการงาน คอยตรวจดูแลงานทุกขณะ สิ่งใดที่บกพร่องควรปรับปรุงแก้ไข ไม่ปล่อยให้งานเป็นไปตามยถากรรม
4. พยายามปรับปรุงงานที่ตนกำลังทำอยู่ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ทันสมัย
5. ไม่แสดงออกในลักษณะเคร่งเครียดหรือเคร่งขรึมจนเกินไป เป็นผู้มีลักษณะสดชื่น มีอารมณ์เย็น หรืออารมณ์ขันในบางโอกาส แสดงออกซึ่งไมตรีจิตและมิตรภาพกับเพื่อนร่วมงาน
6. สั่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ ต้องเป็นคำสั่งที่แน่นอนมีเหตุผลและปฏิบัติได้ไม่กำกวม หรือขัดต่อระเบียบ
7. ติดตามผลงานที่สั่งไปว่าดำเนินการได้ผลอย่างไรมีอะไรเป็นอุปสรรค
8. เป็นผู้รู้จักประนีประนอม ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ทำเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ผ่านเลยไป
9. อย่างเป็นคนเห็นแก่ได้ อย่าให้ถูกวิจารณ์ว่าเห็นแก่ของกำนัลจะเป็นการทำลายมนุษยสัมพันธ์เสียความยุติธรรม ทำลายจิตใจผู้อื่น
10. กล้ารับผิดในทันทีที่มีความเสียหายหรือความบกพร่องเกิดขึ้น
11. การปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ควรโกรธ โมโห ในกรณีนิสัยไม่ดี ควรเรียกมาว่ากล่าว ตักเตือน หรือหาวิธีแก้ไขโดยใช้วิธีสนทนาหรืออบรมเป็นรายบุคคล ถ้าเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นก็ว่ากันไปตามระเบียบวินัย
12. เป็นผู้มีความอดทน หรือขันติธรรมเป็นพิเศษ
13. เป็นผู้สุจริตอย่างจริงใจ
14. เป็นคนไม่เล่นพวก ให้ความรักเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและคนทั่วไปในแนวทางความยุติธรรมสายกลาง อย่าสนับสนุนเฉพาะพวกของตน
15. เป็นผู้ที่รู้จักการเสียสละตามสมควรแก่อัตภาพ
16. เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย มิตรภาพที่มีอยู่กับเพื่อนฝูงอย่างไรเมื่อตำแหน่งสูง หรือใหญ่ขึ้นก็ควรรักษาไว้ในสภาพเดิม
17. รักเกียรติยศและศักดิ์ศรีของตน
18. ต้องระมัดระวังหลีกเลี่ยงการถูกวิจารณ์จากเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ในกรณีเป็นคนหูเบา เป็นคนขวางอำนาจ ไม่ยุติธรรม ไม่รับผิดชอบ อย่างแสดงว่ายากจนหรือมั่งมีเกินไป มีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมงาน ถึงมีความรู้น้อยอย่างให้ลูกน้องดูถูก การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อความเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เมื่อต้องทำงานร่วมกันกับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือคนงานพึงควรยึดถือหลักปฏิบัติตน สร้างและรักษามนุษยสัมพันธ์ให้มีอยู่ในองค์การในฐานะผู้บังคับบัญชา หน้าที่หลักใหญ่ ๆ คือการควบคุมสถานการณ์ทำงาน การดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานและการพัฒนาตัวบุคคล หากลูกน้องกับหัวหน้าไม่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันแล้ว งานก็จะไม่สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้เป็นหัวหน้างาน นอกจากจะเข้าใจในลักษณะของงานที่ได้รับมอบหมายแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจถึงกลไกลในการทำงานของลูกน้องด้วย เพื่อส่งเสริมให้กำลังใจลูกน้องได้ทำงานอย่างเต็มความสามารถของแต่ละคน
2. ไม่เป็นผู้วางอำนาจ หรือถืออำนาจว่าตนเป็นเจ้านายมีอำนาจในหมู่ ลูกน้องจะทำอะไรก็ได้ มักใช้อำนาจเกิดขอบเขตที่ตนมีอยู่
3. เป็นผู้ที่สนใจและเอาใจใส่ในการงาน คอยตรวจดูแลงานทุกขณะ สิ่งใดที่บกพร่องควรปรับปรุงแก้ไข ไม่ปล่อยให้งานเป็นไปตามยถากรรม
4. พยายามปรับปรุงงานที่ตนกำลังทำอยู่ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ทันสมัย
5. ไม่แสดงออกในลักษณะเคร่งเครียดหรือเคร่งขรึมจนเกินไป เป็นผู้มีลักษณะสดชื่น มีอารมณ์เย็น หรืออารมณ์ขันในบางโอกาส แสดงออกซึ่งไมตรีจิตและมิตรภาพกับเพื่อนร่วมงาน
6. สั่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ ต้องเป็นคำสั่งที่แน่นอนมีเหตุผลและปฏิบัติได้ไม่กำกวม หรือขัดต่อระเบียบ
7. ติดตามผลงานที่สั่งไปว่าดำเนินการได้ผลอย่างไรมีอะไรเป็นอุปสรรค
8. เป็นผู้รู้จักประนีประนอม ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ทำเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ผ่านเลยไป
9. อย่างเป็นคนเห็นแก่ได้ อย่าให้ถูกวิจารณ์ว่าเห็นแก่ของกำนัลจะเป็นการทำลายมนุษยสัมพันธ์เสียความยุติธรรม ทำลายจิตใจผู้อื่น
10. กล้ารับผิดในทันทีที่มีความเสียหายหรือความบกพร่องเกิดขึ้น
11. การปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ควรโกรธ โมโห ในกรณีนิสัยไม่ดี ควรเรียกมาว่ากล่าว ตักเตือน หรือหาวิธีแก้ไขโดยใช้วิธีสนทนาหรืออบรมเป็นรายบุคคล ถ้าเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นก็ว่ากันไปตามระเบียบวินัย
12. เป็นผู้มีความอดทน หรือขันติธรรมเป็นพิเศษ
13. เป็นผู้สุจริตอย่างจริงใจ
14. เป็นคนไม่เล่นพวก ให้ความรักเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและคนทั่วไปในแนวทางความยุติธรรมสายกลาง อย่าสนับสนุนเฉพาะพวกของตน
15. เป็นผู้ที่รู้จักการเสียสละตามสมควรแก่อัตภาพ
16. เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย มิตรภาพที่มีอยู่กับเพื่อนฝูงอย่างไรเมื่อตำแหน่งสูง หรือใหญ่ขึ้นก็ควรรักษาไว้ในสภาพเดิม
17. รักเกียรติยศและศักดิ์ศรีของตน
18. ต้องระมัดระวังหลีกเลี่ยงการถูกวิจารณ์จากเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ในกรณีเป็นคนหูเบา เป็นคนขวางอำนาจ ไม่ยุติธรรม ไม่รับผิดชอบ อย่างแสดงว่ายากจนหรือมั่งมีเกินไป มีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมงาน ถึงมีความรู้น้อยอย่างให้ลูกน้องดูถูก การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อความเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เมื่อต้องทำงานร่วมกันกับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือคนงานพึงควรยึดถือหลักปฏิบัติตน สร้างและรักษามนุษยสัมพันธ์ให้มีอยู่ในองค์การในฐานะผู้บังคับบัญชา หน้าที่หลักใหญ่ ๆ คือการควบคุมสถานการณ์ทำงาน การดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานและการพัฒนาตัวบุคคล หากลูกน้องกับหัวหน้าไม่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันแล้ว งานก็จะไม่สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้เป็นหัวหน้างาน นอกจากจะเข้าใจในลักษณะของงานที่ได้รับมอบหมายแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจถึงกลไกลในการทำงานของลูกน้องด้วย เพื่อส่งเสริมให้กำลังใจลูกน้องได้ทำงานอย่างเต็มความสามารถของแต่ละคน
ที่มาของเนื้อหา http://www.lib.ru.ac.th/article/relation.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น