1. ทฤษฎีและหลักการการจัดการความรู้ในองค์กร
1.1 ที่มาและความสำคัญของการจัดการความรู้ในองค์กรการจัดการความรู้ในองค์กร
(Knowledge Management หรือ KM) เป็นกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพื่อให้บุคลากรทุกคน สามารถเข้าถึงความรู้ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้
และนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้เกิดการพัฒนาฐานความรู้หรือทุนปัญญาขององค์กรอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้องค์กรเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization หรือ LO) ที่สามารถเพิ่มขีดสมรรถนะในเชิงแข่งขันได้สูงสุด
ทั้งนี้องค์ความรู้ในองค์กรมี 2 ประเภท
ได้แก่
1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง
(Explicit หรือ Codified Knowledge) คือความรู้ที่สามารถรวบรวม
ถ่ายทอดได้ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การบันทึก ทฤษฎี แนวปฏิบัติ คู่มือต่างๆ
2. ความรู้ที่ฝังลึก
(Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์
พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคล
ซึ่งยากต่อการเล่าหรือเขียนออกมาให้ผู้อื่นทราบหรือเข้าใจ
จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการต่างๆ
เปลี่ยนให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้งซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยง่าย เช่น
ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ การคิดเชิงวิเคราะห์
จากอรรถประโยชน์ดังกล่าวที่เกิดจากการจัดการความรู้จึงได้มีองค์กรและหน่วยงานต่างๆ
นำไปใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพและสมรรถนะขององค์กรหรือหน่วยงานตนเอง
ดังนั้นเพื่อให้หน่วยงานของรัฐบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ จึงได้มีการบรรจุการจัดการความรู้ในองค์กรไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 หมวด 3 มาตรา 11
ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ
เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง
รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ
สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน
ทั้งนี้
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้
มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง
และความรู้ที่ฝังอยู่ในบุคคล เช่น เทคนิคของการสอนและวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา
เทคนิคการวัดและประเมินผลการศึกษา แนวคิดและวิธีการจัดการงานวิจัยของนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จ
การบริหารจัดการหลักสูตรและโครงการที่ประสบความสำเร็จ
ตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน ดังนั้นกระบวนการถ่ายทอดและสนับสนุนให้คนในองค์กรได้เข้าใจและเรียนรู้จากกันและกันผ่านกระบวนการของการเสวนา
การอภิปราย การสร้างเครือข่ายหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติ (Community of Practice หรือ CoP) จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้หน่วยงาน
เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง
1.2 กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge
Management Process)
การดำเนินงานจัดการความรู้ในองค์กร สามารถจำแนกออกเป็น
7 ขั้นตอนดังนี้
ที่มา
|
ขั้นตอน (Process)
|
คำอธิบาย
|
เราต้องมีความรู้เรื่องอะไร?เรามีความรู้เรื่องนั้นหรือยัง?
|
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
|
เป็นการพิจารณาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมายขององค์กร
และพิจารณาว่าองค์กรมีองค์ความรู้นี้หรือยัง อยู่ในรูปแบบใด หรืออยู่ที่บุคคลใด
|
ความรู้อยู่ที่ใคร?อยู่ในรูปแบบอะไร?จะเอามาเก็บรวมกันได้อย่างไร?
|
2. การสร้างและแสวงหาความรู้(Knowledge Creation and
Acquisition)
|
เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่
หรือแสวงหาความรู้จากภายนอก
หากองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กรนั้นยังไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ รวมถึงการรักษาความรู้เก่า และการกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
|
จะแบ่งประเภทหัวข้ออย่างไร?
|
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ(Knowledge Organization)
|
เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
|
จะทำให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์ได้อย่างไร?
|
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้(Knowledge Codification and
Refinement)
|
เป็นการปรับปรุงรูปแบบ
เนื้อหาเอกสารหรือองค์ความรู้ให้เป็นสมบูรณ์ มีมาตรฐาน และใช้ภาษาเดียวกัน
|
เรานำความรู้มาใช้งานได้ง่ายหรือไม่?
|
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowlegde Access)
|
เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่ต้องการได้ง่ายสะดวก
โดยอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์มาช่วยเพื่ออำนวยความสะดวก
|
มีการแบ่งบันความรู้ให้กันหรือไม่?
|
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge Sharing)
|
ทำได้หลายวิธีการ
|
ความรู้นั้นทำให้เกิดประโยชน์กับองค์กรหรือไม่?
|
7. การเรียนรู้ (Learning)
|
เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กร
|
1.3 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ (Key Success
Factors) ของการจัดการความรู้
จากการสัมมนาเพื่อพัฒนาการสร้างเครือข่ายองค์กรการเรียนรู้
เพื่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา(Mini UKM) ครั้งที่ 5 (19-21 มีนาคม
2553) ณ อาราญาน่า ภูพิมานรีสอร์ท อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้สรุปปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ (Key Success
Factors) ของการจัดการความรู้
ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของหน่วยงานต่างๆ
ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของหน่วยงานตนเองได้ดังต่อไปนี้
1.
ผู้บริหาร :
การจัดการความรู้ในองค์กร ผู้บริหารควรมีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย
สนันสนุน
และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
เช่น กิจกรรมระดมสมองผู้บริหาร หรือการประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์
2.
จิตอาสา :
การดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร องค์กรควรส่งเสริมและพัฒนาการทำงานแบบจิตอาสาโดย
เปิดโอกาสให้บุคลากรที่มีความตั้งใจและสนใจในการการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานจัดการความรู้
3.
สร้างทีมขับเคลื่อน :
เพื่อให้การดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
มีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง องค์กรควรจัดกิจกรรมฝึกอบรม
เพื่อปูพื้นฐานการจัดการความรู้ในองค์กรและพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้ที่สามารถดำเนินการการจัดการความรู้ได้
เช่น การอบรมบุคลากรเพื่อทำหน้าที่เป็น คุณอำนวย (Knowledge
Facilitator) คอยอำนวยความสะดวกและกระตุ้นการดำเนินการจัดการความรู้
เป็นต้น
ซึ่งจะทำให้องค์กรเกิดการก้าวกระโดดจนถึงระดับการนำองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้
4.
กระบวนการคุณภาพ PDCA (Plan Do Check Act) : เพื่อให้การดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กรเกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
ควรทำหลักการ PDCA (Plan Do Check Act) มาใช้ในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ
ของการจัดการความรู้ในองค์กร เริ่มตั้งแต่มีกระบวนการวางแผนการจัดการความรู้
มีการปฏิบัติการตามแผน มีการนำองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ
มีการวิเคราะห์ปรับปรุงการดำเนินงาน มีคณะทำงานติดตามอย่างจริงจัง
มีการรายงานต่อผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับอย่างทั่วถึง
และมีคณะกรรมการประสานงาน เพื่อแก้ไขปัญหา
5.
การเปิดหู เปิดตาบุคลากรในองค์กร : เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ในองค์กรของบุคลากรในองค์กร
ซึ่งอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดกิจกรรมการประชุมชี้แจงแก่บุคลากร
เป็นต้น
6.
การเปิดใจยอมรับ :
เพื่อให้บุคลากรเปิดใจยอมรับการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์กรอาจดำเนินการได้โดย
การทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การสอดแทรกกิจกรรมการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
เช่น Before Action Review (BAR) และ After Action
Review (AAR) เป็นต้น
7.
การมีส่วนร่วม : เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้จากหน่วยงานต่างๆ
ภายในองค์กร และหน่วยงานภายนอก องค์กรควรจัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่สนใจเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รวมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็น
8.
การสร้างบรรยากาศ : การดำเนินการกิจกรรมการจัดการความรู้
ควรมีการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การยอมรับความคิดเห็นของบุคลากร ซึ่งอาจทำได้ในรูปแบบต่างๆ
เช่น กิจกรรมสภากาแฟ การเปลี่ยนสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
การทำเทคนิค Edutainment มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
หรือการเสริมสร้างบรรยากาศใหม่ให้เร้าใจ เป็นต้น
9.
การจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ในการจัดการความรู้
องค์กรควรส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge
Forum) เพื่อสกัดขุมความรู้ออกมาจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกไว้ใช้งานต่อ
และเกิดการตื่นตัวในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ
เช่น ชุมชนแห่งการเรียนรู้หรือ ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities
of Practice : CoP) การเล่าเรื่องแบบ SST ( Success
Story Telling ) กระบวนการสุนทรียสนทนา (Dialogue) หรือ กระบวนการสภากาแฟโลก (World Café) เป็นต้น
10.
การให้รางวัล ยกย่องชมเชย : เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ
โดยข้อควรพิจารณาได้แก่ ค้นหาความต้องการของบุคลากร, แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว,
บูรณาการกับระบบที่มีอยู่, ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา
การให้รางวัล ยกย่องชมเชย อาจทำได้โดย
การประเมินผลพนักงาน การประกวดเรื่องเล่าเร้าพลัง
การประกวด CoP ดีเด่น การมอบโล่ร่างวัลหรือเกียรติบัตร หรือจัดให้มีเงินรางวัลพิเศษ
เป็นต้น
11.
การจัดเอกสารประกันคุณภาพ (QA Document) : เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการความรู้ในองค์กร
สามารถตรวจสอบและประกันคุณภาพได้ องค์กรควรเก็บรวมรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
เช่น จดหมายเวียน ประกาศใช้ แผนดำเนินงาน การถอดบทเรียน คู่มือการจัดการความรู้ การจัดเก็บเอกสารที่เป็นคลังความรู้
ทั้งนี้อาจใช้ ซอฟท์แวร์มาช่วยในการบริหารจัดการ
12.
การสื่อสารภายในองค์กร : เพื่อให้บุคลากรในองค์กรทุกคน
ทุกระดับสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร การดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยงานได้อย่างต่อเนื่อง
ควรทำการสื่อสารกับบุคลากร ซึ่งอาจดำเนินการได้โดย การจัดทำวารสาร/จุลสารการจัดการความรู้ การจัดทำเว็บไซต์การจัดการความรู้
การจัดทำบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ หรือ web blog ซึ่งมีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการเขียน
Blog ได้มากมาย เช่น WordPress หรือ Movable
Type เป็นต้น
ที่มาของเนื่อหา http://www.phar.ubu.ac.th/km/?p=197
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น