วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

 1.  การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีเทคนิคที่สำคัญ 
การบริหารแบบมีส่วนร่วมความหมาย การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์พัฒนาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ แนวความคิดพื้นฐาน(Basic Assumption) จากทฤษฎี การจูงใจของ Molivation Theory เชื่อว่า
มนุษย์ย่อมมีความต้องการเหมือน ๆ กันตราบใดที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้แล้ว ก็จะเกิดปัญหาความต้องการอยู่เรื่อยไป แต่ถ้าความต้องการได้รับความตอบสนอง ก็จะเลิกสนใจ
มนุษย์ตอบความสนองความต้องการแตกต่างกันทางด้านปริมาณ ความต้องการระดับต่ำค่อนข้างมีขอบเขตจำกัด แต่ความต้องการระดับสูงมักจะไม่มีขอบขีดจำกัด
จากทฤษฎีการจูงใจของ Harzberh (Mptovatopm Hygiene Theory) เชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจให้คนทำงาน คือ
ความสำเร็จ การยกย่อง ความก้าวหน้า ลักษณะงาน ความรับผิดชอบ ความเจริญเติบโต
จากการศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์ ของ Aravris ได้เผยว่า บุคคลที่มีวุฒิภาวะ จะมีบุคลิกภาพที่ต้องการเป็นของตนเอง การบริหารแบบมีส่วนร่วมช่วยให้บุคคลได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนในด้านการตัดสินใจ และการควบคุมการทำงาน การแสดงออก ทัศนคติ และการใช้ความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้

คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)
องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ **
  • ประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อย 3 คน (1 คน ควรมีความรู้ด้านบัญชี / การเงิน)
  • แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้น
  • เป็นกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการบริหาร/ผู้บริหาร พนักงาน หรือที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำจากบริษัท
  • ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียทั้งด้านการเงินหรือการบริหารงานกับบริษัท
  • ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 1 โดยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย

    (รายละเอียดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ** )
หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
  • คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่รับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทตามขอบเขตหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  • ขอบเขตการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
    1. สอบทานรายงานทางการเงิน
    2. สอบทานระบบควบคุมภายในและระบบตรวจสอบภายใน
    3. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
    4. สอบทานการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลในรายการเกี่ยวโยงให้ถูกต้องครบถ้วน
    6. หน้าที่อื่นใดที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบ
    7. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบไว้ในรายงานประจำปี
  • หากมีการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบจะต้องรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น