วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556


การบริหารจัดการในภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม

ในปัจจุบันการจะเป็นผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงานการกีฬามักจะมีการพูดถึง ผู้นำที่ต้องมี ภาวะผู้นำในหน่วยงานนั้น ๆ ผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีการเรียนรู้ศิลปะในการเข้าถึง ศาสตร์แห่งภาวะผู้นำ 

แต่ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรหรือหน่วยงานการกีฬาสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือเหนือคู่แข่งได้นั่นก็คงต้องอาศัย บทบาทของของฝ่ายปฎิบัติการ ที่ต้องรับรู้ในเรื่องราวของ ภาวะผู้ตามหากบุคคล (ฝ่ายปฎิบัติ) เหล่านั่นได้รับการพัฒนาและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตนเองก็จะส่งผลให้บุคคลเหล่านั่นสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี และการพัฒนาศักยภาพของผู้ตามให้มีอยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานที่ตนเองรับผิดชอบ จึงมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างมาก รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานการกีฬา ก็จำเป็นต้องสร้างให้ผู้ตาม มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติไปในทิศทางเดียวกับการความต้องการขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรหรือหน่วยงานมีศักยภาพในการปฎิบัติงาน ในการแข่งขันหรือการสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 

ดังนั้น องค์กรหรือหน่วยงานการกีฬาควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะของการเป็นผู้ตามที่ดี เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีของภาวะผู้ตาม และสร้างแนวทางในการพัฒนาตนเองสู่การปฏิบัติงานที่ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้แก่องค์กร ในสภาวะการณ์ของ องค์กรแห่งการเรียนรู้
http://www3.pantown.com/data/36749/content69/f2.gifความหมายของ ภาวะผู้นำ (Leadership)

ผู้นำ (Leader) หมายถึง ผู้กำหนดวัตถุประสงค์ ของหน่วยงาน ผู้ให้ความคิดริเริ่มในการปฏิบัติงาน ผู้มีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จ


ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นเรื่องของการใช้ศิลปะในการจูงใจคน ให้คนทำงาน โดยผู้ทำงาน เต็มใจทำงานให้เรา 
( นำคนได้ใช้คนเป็น) 

ถ้าผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ จะทำให้เกิดความสำเร็จ 3 ประการ
คือ. 1. นำคนได้
2. นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กรได้
3. ใช้สยบปัญหาได้ 

ผู้บริหารที่จะบริหารงานให้สำเร็จ จะต้องรู้จัก การครองตน 
ครองคน ครองงาน

การครองตน ( มีคุณธรรมและจริยธรรมต่อตนเอง) 
หรือใช้หลัก สัปปุริสธรรม 7” 
- เป็นแบบอย่างที่ดีของคนในองค์กร)
- มีกริยามารยาทและแต่งกายดี
- พูดจาไพเราะ
- มีความเป็นผู้ใหญ่ เชื่อถือได้
- มีวินัยในตนเอง
- ยึดหลักธรรม คำสั่งสอนของศาสนา ฯลฯ

การครองคน ( มีคุณธรรมและจริยธรรมต่อผู้อื่นและสังคม ) 
หรือใช้หลัก พรหมวิหาร 4 ”
- ประพฤติดีประพฤติชอบ
- มีความหนักแน่นอดทน
- มีความยุติธรรม
- มีอัธยาศัยดี ฯลฯ

การครองงาน ( มีคุณธรรมจริยธรรมต่อหน้าที่การงาน ) 
หรือใช้หลัก อิทธิบาท 4” 
- มีความรู้ แสวงหาประสบการณ์
- มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
- มีความคิดสร้างสรรค์
- มีความรับผิดชอบสูง
- ยึดหลักธรรมประจำใจในการปฏิบัติงาน ฯลฯ 
http://www3.pantown.com/data/36749/content69/f3.gifความหมายของ ผู้ตาม (Followership) และภาวะผู้ตาม (Followership) 

ผู้ตาม หรือภาวะผู้ตาม หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่มีหน้าที่ และความรับผิดชอบที่จะต้องรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชามาปฏิบัติให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์

แบบของภาวะผู้ตาม (STYLE OF FOLLOWSHIP)แบ่งตามประเภทคุณลักษณะได้ดังนี้ 
- ความอิสระ(INDEPENDENT) พึ่งพาตนเอง และความคิดสังสรรค์ (UNCRITICAL THINKING) 
- ไม่อิสระ (DEPENDENT) ต้องพึ่งพาผู้อื่น และขาดความคิดสร้างสรรค์ (UNCRITICAL)
- ความกระตือรือร้น (ACTIVE BEHAVIOR)
- ความเฉื่อยช า(PASSIVE BEHAVIOR)

พฤติกรรมของผู้ที่มีความเป็นอิสระ และความคิดสร้างสรรค์จะมีลักษณะเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม และเสนอแนะวิธีการใหม่ ๆ อยู่เสมอส่วนบุคคลที่มีลักษณะพึ่งพาผู้อื่นจะขาดความคิดริเริม และคอยรับคำสั่งจากผู้นำโดยขาดการไต่รตรอง 

คุณลักษณะพฤติกรรมของผู้ตาม มีดังนี้
1) ผู้ตามแบบห่างเหิน ผู้ตามแบบนี้เป็นคนเฉื่อยชา แต่มีความเป็นอิสระ และมีความคิดสร้างสรรค์สูง ผู้ตามแบบห่างเหินส่วนมาก เป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผล มีประสบการณ์ และผ่านอุปสรรคมาก่อน
2) ผู้ตามแบบปรับตาม ผู้ตามแบบนี้ เรียกว่า ผู้ตามแบบครับผม เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์
3) ผู้ตามแบบเอาตัวรอด ผู้ตามแบบนี้จะเลือกใช้ลักษณะผู้ตามแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะเอื้อประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
4) ผู้ตามแบบเฉื่อยชา ผู้ตามแบบนี้ชอบพึ่งพาผู้อื่น ขาดความอิสระ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5) ผู้ตามแบบมีประสิทธิผล ผู้ตามแบบนี้เป็นผู้ที่ทีความตั้งใจในการปฏิบัติงานสูงมีความสามารถในการบริหารจัดการงานได้ด้วยตนเอง

ศิลปะการเป็น ผู้ตาม ที่ดี
1. ยอมรับนายอย่างที่เป็น อย่าคิดไปเปลี่ยนนาย หาทางเสริมในสิ่งที่นายขาด ผู้ตามส่วนใหญ่มักมองจุดอ่อนนายโดยเฉพาะหากเป็นจุดแข็งของตน เช่น ตนเองเป็นคนแคร์ความรู้สึกคนแต่นายไม่เป็น ก็มักมองว่านายมีจุดอ่อน แทนที่จะคิดอย่างนั้น ควรจะใช้จุดแข็งตนเสริมจุดอ่อนนายต่างหาก 
2. อ่านเกมนายให้ออก จะทำได้ก็ต้องเข้าใจวิสัยทัศน์ เป้าหมายงาน เป้าหมายอาชีพ เป้าหมายชีวิต ที่สำคัญคือเข้าใจลำดับความสำคัญของเขา แล้ววางแผนงานของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของนาย 
3. ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร จะตรงมากกับคนที่เริ่มงานใหม่ หรือกับคนที่องค์กรเพิ่งจะควบรวมกับองค์กรอื่น หรือองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรหรือค่านิยมขององค์กร หรืออาจจะใช้ได้ด้วยกับคนเก่าที่ยังไม่ได้โปรโมตซักทีเพราะไม่เข้าใจวัฒนธรรมองค์กรว่าคาดหวังอะไรจากผู้บริหาร 
4. ระบุปัญหาในงานที่อาจจะเกิด วางแผนป้องกัน และแผนสำรอง วิธีนี้ปัญหาในงานของตนในอนาคตจะมีน้อยลง นายจำนวนมากเสียเวลาไปกับการแก้ปัญหาให้ลูกน้องที่ไม่ระบุปัญหาล่วงหน้า แทนที่นายจะใช้เวลาไปกับงานที่เขาคิดว่าสำคัญและจำเป็นเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของเขาได้เร็วขึ้น 
5. ทำงานให้เกินความคาดหวัง ซึ่งต้องเข้าใจวิสัยทัศน์และลำดับความสำคัญของนายให้ถ่องแท้ มีบางคนที่ขยันมากแต่กลับไม่เข้าตานาย อาจจะเป็นได้ว่าเพราะกำลังทุ่มเทในสิ่งที่มีคุณค่าหรือมีลำดับความสำคัญน้อยในสายตาของนายหรือเปล่า 
6. รักษาสัญญา เมื่อคนสามารถทำงานได้ตามสัญญา หรือมากเกินที่รับปากไว้ แน่นอนว่าความไว้เนื้อเชื่อใจก็จะมีพอกพูนตามมา ยิ่งทำได้ตามสัญญานายยิ่งไว้วางใจ ในทางกลับกัน หากทำไม่ได้ นายก็จะเริ่มไม่มั่นใจ หากทำไม่ได้มากขึ้น ก็จะมีการตรวจสอบมากขึ้นเรื่อยๆ 
7. สื่อสารและสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างดีเยี่ยม นายเราต้องรับข้อมูลและข่าวสารมากมายในแต่ละวัน เขาไม่สามารถจำอะไรได้ทั้งหมด สิ่งที่เขาจะจดจำได้ก็คือสิ่งที่เขาสนใจหรือสิ่งที่นำเสนอให้เขาสนใจ หากว่าพูดจาสื่อสารไม่เก่ง รายงานอะไรไปนายก็ลืมหมด หรือพูดทีต้องใช้เวลามากนายอาจไม่มีเวลาให้ คุณอาจจะเจอนายที่ลิฟต์ก่อนขึ้นไปสำนักงาน คุณสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาหนึ่งนาทีได้หรือไม่ 
8. เขียนได้ดีมีประสิทธิภาพ เขียนได้ตรงประเด็น กระชับและชัดเจน จะต้องมีความชัดเจนก่อนลงมือเขียนว่าสิ่งที่คาดหวังให้ผู้อ่านได้รับเมื่ออ่านจบคืออะไร ต้องการให้เขาเข้าใจเนื้อหาเพียงอย่างเดียว หรือต้องการให้เขาลงมือทำอะไรบางอย่าง มีภาพที่ชัดเจนในใจเราก่อนที่จะลงมือเขียน 
9. กล้าที่จะให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งด้านดีและด้านร้าย คนส่วนใหญ่คิดว่านายคงต้องการได้ยินแต่สิ่งดีๆ ความเชื่อแบบนั้นอาจจะโบราณไปแล้ว ผู้บริหารมืออาชีพเขารู้ดีว่าเหรียญมีสองด้านเสมอ ไม่มีทางที่จะมีเพียงด้านดีด้านเดียว ในทางกลับกันเขาอาจจะระแวงหากมีลูกน้องที่พยายามรายงานแต่ข่าวดี หรือพยายามประจบประแจง บอกสิ่งที่ดีเกี่ยวกับเขา อาจจะคิดไปว่าลูกน้องพยายามที่จะคิดไม่ดีอะไรบางอย่างหรือไม่จึงไม่ยอมให้ข้อมูลด้านลบเลย 
10. ทำงานเป็นทีมเป็น ทำงานเป็นทีมหมายความว่าเขาสามารถทำงานกับคนได้ทุกแบบ คนส่วนใหญ่มักจะทำงานกับคนที่พูดง่ายได้ แต่จะทำงานกับคนที่เจ้าปัญหาไม่ได้ จึงมักมาขอแรงนายเสมอ หรือไม่ก็ไม่กล้าไปคุยกับคนที่อาวุโสกว่าต้องให้นายออกหน้า

แนวทางการพัฒนาศักยภาพตนเองของ ผู้ตาม ที่ดีมีดังต่อไปนี้
1) เริ่มต้นจากส่วนลึกในจิตใจ (BEGIN WITH THE END IN MIND) 
2) ต้องมีนิสัยเชิงรุก (BE PROATIVE) หมายถึงไม่ต้องรอให้นายสั่ง
3) คิดแบบชนะทั้งสองฝ่าย (THINK WIN-WIN)
4) เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (SEEK FIRST TO UNDERSTAND, THEN TO BE UNDERSTOOD) 5) การรวมพลัง (SYNERGY) หรือ ทำงานเป็นทีม (TEAM WORK)
6) ลับเลื่อยให้คม (SHARPEN THE SAW) คือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

แนวทางการส่งเสริมและการ พัฒนาให้ผู้ปฎิบัติการมีคุณลักษณะ ผู้ตาม อันพึ่งประสงค์ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน
1) การดูแลเอาใจใส่ เรื่องความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้กับบุคลากรเป็นธรรม
2) การจูงใจด้วยการให้รางวัลคำชมเชย
3) การให้ความรู้ และพัฒนาความคิดโดยการจัดโครงการฝึกอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน
4) ผู้นำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง
5) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
6) ควรนำหลักการประเมินผลงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์มาพิจารณาความดีความชอบ
7) ส่งเสริมการนำพุทธศาสนามาใช้ในการทำงาน 
8) การส่งเสริมสนับสนุนให้ผุ้ตามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง

ก่อนเป็นผู้นำ คงต้องเคยเป็นผู้ตามมาก่อน ผู้นำที่ดีต้องตามเป็น
ภาระผู้ตามมีความสำคัญและมีผลต่อความสำเร็จ หรือล้มเหลวขององค์กรไม่น้อยไปกว่าภาวะผู้นำ



ผู้ตามที่ดี กับ ภาวะผู้ตาม
Robert E. Kelly ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า ความสำเร็จขององค์กร 90% เกิดจากการทำงานของผู้ตาม ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นผลงานของผู้นำ จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่ผู้นำเท่านั้นที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ  แต่ผู้ตามก็มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้นำเช่นกัน 
รูปแบบของผู้ตาม
Robert Kelly (1992) จำแนกรูปแบบผู้ตาม(Followership pattern) เป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
1)    ผู้ตามแบบเฉื่อยชา(Sheep) หมายถึงผู้ตามที่เชื่องช้า ไม่กระตือรือร้น ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่พยายามพึ่งพาตนเอง  ทำงานตามคำแนะนำและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายโดยไม่คิดที่จะเริ่มเอง  ทำงานให้แล้วเสร็จในลักษณะ “เช้าชาม เย็นชามเป็นผู้ตามที่ถูกชักจูงได้ง่าย
2)    ผู้ตามแบบยอมตามเห็นด้วยเสมอ(Conformist หรือYes people)หมายถึงผู้ตามที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์และไม่มีความคิดริเริ่ม รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา จึงเห็นด้วย คล้อยตาม น้อมรับ และทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยมิโต้แย้งใดๆ  ไม่ติดตามผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่ตนเองได้กระทำ
3)    ผู้ตามแบบรู้รักษาตัวรอด(Survivors) หมายถึงผู้ตามที่ทำตัวเหมือนน้ำ คอยปรับตนเองให้อยู่รอดอย่างปลอดภัยในทุกๆสถานการณ์ เข้าทำนอง “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
4)    ผู้ตามแบบปรปักษ์(Alienated followers) หมายถึงผู้ตามที่ชอบอิสระ พยายามพึ่งพาตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์และความคิดริเริ่ม  แต่ขาดศิลปะในการแสดงบทบาทของผู้ตามให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โดยแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา  ไม่ประนีประนอม  คอยจับผิดและวิจารณ์ผู้บังคับบัญชา
5)    ผู้ตามที่มีประสิทธิผล(Effective followers) หมายถึงผู้ตามที่มีความเพียรพยายาม ชอบอิสระ สามารถพึ่งพาตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการงานที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ  คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ตนเอง มีพฤติกรรมกล้าแสดงออก  มีความสามารถในงาน พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความภักดี ให้ความร่วมมือ มีความคิดสร้างสรรค์และมีความคิดริเริ่มสูง  จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา  ผู้ตามประเภทนี้เป็นบุคคลที่มีภาวะผู้ตาม(Followership) หรือเป็นผู้ตามที่เป็นแบบอย่าง(Exemplary followers)...”
และ Robert Kelly (1992) ได้รายงานผลการศึกษาวิจัยผู้ตามที่เป็นแบบอย่าง(Exemplary followers) ว่ามีคุณลักษณะที่ประกอบด้วย
              1.     สามารถในการจัดการตนเอง(Self Management) หมายถึง สามารถควบคุมตนเอง  พึ่งพาตนเอง และสามารถทำงานด้วยตนเองโดยปราศจากการนิเทศใกล้ชิดจากผู้บังคับบัญชา
2.     มุ่งมั่นในการทำงาน อุทิศตนเพื่องาน และตั้งใจทำงาน(Commitment)
3.     พัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้ผลงานมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด(Build competence and Focus effort)
4.     มีความกล้า(Courageous) หมายถึงกล้าแสดงออก  กล้าแสดงความคิดเห็น  กล้าตัดสินใจและกล้ายอมรับความผิดพลาดที่ตนเองเป็นผู้กระทำ รวมทั้งพร้อมรับคำวิจารณ์จากผู้อื่น…” 


konphuthaiThu Dec 15 2011 19:30:03 GMT+0700 (ICT)
  • ความหมายของผู้ตาม(FOLLOWERS)และภาวะผู้ตาม(FOLLOWSHIP)

    ผู้ตาม
     และภาวะผู้ตาม  หมายถึงผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่มีหน้าที่  และความรับผิดชอบที่จะต้องรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชามาปฏิบัติให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์

    แบบของภาวะผู้ตาม
    (STYLE OF FOLLOWSHIP)เคลลี่(KELLEY)ได้แบ่งประเภทของผู้ตามโดยใช้เกณฑ์ 2 มิติ  ดังนี้
    มิติที่ 1 คุณลักษณะของผู้ตามระหว่าง ความอิสระ(INDEPENDENT)(การพึ่งพาตนเอง)  และความคิดสังสรรค์ (UNCRITICAL THINKING) ไม่อิสระ(พึ่งพาผู้อื่น)(DEPENDENT) และขาดความคิดสร้างสรรค์ (UNCRITICAL)พฤติกรรมของผู้ที่มีความเป็นอิสระ และความคิดสร้างสรรค์จะมีลักษณะเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม และเสนอวิธีการใหมอยู่เสมอส่วนบุคคลที่มีลักษณะพึ่งพาผู้อื่นจะขาดความคิดริเริม และคอยรับคำสั่งจากผู้นำโดยขาดการไตรตรอง  
    มิติที่ 2  คุณลักษณะของผู้ตามระหว่าง ความกระตือรือร้น (ACTIVE BEHAVIOR)กับความเฉื่อยชา(PASSIVE BEHAVIOR)

    คุณลักษณะพฤติกรรมของผู้ตาม 5 แบบมีดังนี้
    1) ผู้ตามแบบห่างเหิน  ผู้ตามแบบนี้เป็นคนเฉื่อยชา  แต่มีความเป็นอิสระ  และมีความคิดสร้างสรรค์สูง ผู้ตามแบบห่างเหินส่วนมาก  เป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผล  มีประสบการณ์ และผ่านอุปสรรคมาก่อน
    2) ผู้ตามแบบปรับตาม ผู้ตามแบบนี้ เรียกว่า ผู้ตามแบบครับผม เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์
    3) ผู้ตามแบบเอาตัวรอด ผู้ตามแบบนี้จะเลือกใช้ลักษณะผู้ตามแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะเอื้อประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
    4) ผู้ตามแบบเฉื่อยชา ผู้ตามแบบนี้ชอบพึ่งพาผู้อื่น ขาดความอิสระ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    5) ผู้ตามแบบมีประสิทธิผล ผู้ตามแบบนี้เป็นผู้ที่ทีความตั้งใจในการปฏิบัติงานสูงมีความสามารถในการบริหารจัดการงานได้ด้วยตนเอง
ลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผล  ดังนี้
   5.1 มีความสามรถในการบริหารจัดการตนเองได้ดี    
   5.2 มีความผูกพันธ์ต่อองค์การต่อวัตถุประสงค์
   5.3 ทำงานเต็มศักยภาพ  และสุดความสามารถ
   5.4 มีความกล้าหาญ  ซื่อสัตย์  และน่าเชื่อถือ
การพัฒนาศักยภาพตนเองของผู้ตาม
การพัฒนาลักษณะนิสัยตนเองให้เป็นคนที่มีประสิทธิผลสูงมี 7 ประการคือ
1)  ต้องมีนิสัยเชิงรุก (BE PROATIVE) หมายถึงไม่ต้องรอให้นายสั่ง
2)  เริ่มต้นจากส่วนลึกในจิตใจ (BEGIN WITH THE END IN MIND)
3)  ลงมือทำสิ่งแรกก่อน (PUT FIRST THINGS FIRST)
4)  คิดแบบชนะทั้งสองฝ่าย  (THINK WIN-WIN)
5)  เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (SEEK  FIRST  TO  UNDERSTAND, THEN TO BE UNDERSTOOD)
6) การรวมพลัง (SYNERGY) หรือ ทำงานเป็นทีม (TEAM WORK)
7) ลับเลื่อยให้คม (SHARPEN THE SAW) คือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ แนวทางส่งเสริม  และพัฒนาผุ้ตามให้มีคุณลักษณะผู้ตามที่มีวัตถุประสงค์
1) การดูแลเอาใจใส่ เรื่องความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้กับบุคลากรเป็นธรรม
2) การจูงใจด้วยการให้รางวัลคำชมเชย
3) การให้ความรู้ และพัฒนาความคิดโดยการจัดโครงการฝึกอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน
4) ผู้นำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง
5) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
6) ควรนำหลักการประเมินผลงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์มาพิจารณาความดีความชอบ
7) ส่งเสริมการนำพุทธศาสนามาใช้ในการทำงาน
8) การส่งเสริมสนับสนุนให้ผุ้ตามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง


ที่มาของเนื้อหา    http://archive.wunjun.com/pairuamkron/9/376.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น